แนะนำบทที่ 8 ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์



แนวคิดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน
      เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และความสามารถที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์แก่บริษัทท่ามกลางแรงกดดันทางการแข่งขันที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ทุกวันในตลาดการค้าโลก เป็นระบบที่ช่วยเหลือหรือกำหนดตำแหน่งการแข่งขันในตลาดและกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ

การสร้างกลยุทธ์การแข่งขันพื้นฐานมี 5 อย่าง ดังนี้
      1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านราคา
      2. กลยุทธ์ความแตกต่าง
      3. กลยุทธ์นวัตกรรม
      4. กลยุทธ์ความเจริญเติบโต
      5. กลยุทธ์สร้างพันธมิตร

บทบาททางกลยุทธ์สำหรับระบบสารสนเทศ
- การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ
บทบาทที่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สำคัญในขั้นตอนต่างๆในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้ขั้นตอนในการปฏิบัติงานภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถทำให้บริษัทลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการแก่ลูกค้าและสามารถพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับการเปิดตลาดใหม่อีกด้วย
- การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ สามารถให้ผลดีในการพัฒนาสินค้าและบริการหรือขั้นตอนการทำงานที่มีเอกภาพ
- การสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลง การหาหนทางสร้างกลไกต้นทุนการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า
- การเพิ่มอุปสรรคของการเข้าสู่วงการ โดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการทำงานหรือส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ทำให้บริษัทอื่นเกิดความท้อถอยหรือเกิดความล่าช้าที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งในวงการ
- การยกระดับฐานงานเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทำให้บริษัทมีโอกาสได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของการปฏิบัติงาน
- การพัฒนาฐานข้อมูลทางด้านกลยุทธ์ เป็นข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การแข่งขันของบริษัทจะเสริมการทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของบริษัท

การทำลายอุปสรรคทางธุรกิจ
- การทำลายอุปสรรคทางด้านเวลา การทำให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าสั้นลงและลดการลงทุนด้านการเก็บกักสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
- การทำลายอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ การทำธุรกิจในตลาดทางด้านท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ทำลายระยะทางที่กีดขวางการควบคุมการบริหารงาน
- การทำลายอุปสรรคทางด้านต้นทุน ประหยัดค่าแรงงาน ลดขนาดของคลังสินค้า ลดจำนวน ศูนย์ ขนส่งสินค้า และลดต้นทุนการตัดต่อสื่อสาร
- การทำลายอุปสรรคทางด้านโครงสร้าง Internet intranet extranet และเครือข่ายการสื่อสารระยะไกลอื่นๆสามารถส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงใน บริการการส่งสินค้า เพิ่มขอบข่ายและแทรกซึมเข้าสู่ตลาด
 การประยุกต์ใช้เชิงกลยุทธ์และประเด็นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
      การที่องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี บริษัทอาจใช้ระบบสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ ในเชิงป้องกันหรือในเชิงควบคุม เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กระบวนการทางธุรกิจในการจัดระบบใหม่
      เป็นการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่มากกว่าการทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างอัตโนมัติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจเหมือนกับการคิดทบทวนใหม่ตั้งแต่แรกและออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
      มีบทบาทสำคัญในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ความรวดเร็วความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนทางธุรกิจได้เป็นอย่างมาก
การปรับปรุงคุณภาพของธุรกิจ
      วิธีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน รวมทั้งการปรับรื้อระบบ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเทคนิคการปรับโครงสร้างต่างๆบางบริษัทได้รวมพิธีการต่างๆเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งวิธี ความว่องไวคล่องตัวหรือทำไว้ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงนะ

การบริหารคุณภาพโดยรวม
      เป็นมากกว่าวิธีการเชิงกลยุทธ์สำหรับการปรับปรุงธุรกิจ คุณภาพจะเป็นสิ่งที่ถูกเน้นหนักจากมุมมองของลูกค้ามากกว่าตัวผู้ผลิตเอง ดังนั้น คุณภาพจำเป็นต้องตรงตามความต้องการหรือมากกว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าผู้บริโภคสินค้าและบริการนั้นๆ
ก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่ฉับไว
      ความว่องไวคล่องตัวหรือทำไว้ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงนั้น เป็นความสามารถทางธุรกิจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยดี สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงมีผลผลิตที่ดีและเหมาะกับที่ลูกค้าต้องการ

การสร้างบริษัทเสมือน
      สามารถทำให้ผู้บริหาร วิศวกร นักวิจัย และพนักงานในสาขาอื่นๆจากทั่วโลกประสานงานร่วมมือกัน เพื่อผลิตคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆโดยไม่ต้องมาพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว
กลยุทธ์ของบริษัทเสมือน
      -ใช้โครงสร้างพื้นฐานและความเสี่ยงร่วมกัน
      -เชื่อมโยงความสามารถหลักเข้าด้วยกัน
      -ลดเวลา ด้วยการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
      -เพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและการครอบคลุมการตลาด
      -เข้าถึงตลาดใหม่และแบ่งตลาดหรือลูกค้าให้การ
      -เปลี่ยนจากการขายสินค้ามาเป็นขายวิธีการแก้ปัญหา

การสร้างบริษัทที่สร้างสรรค์ความรู้
      คือ บริษัทที่สร้างความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอและแพร่กระจายความรู้นั้นออกไปให้ทั่วในองค์กรรวมทั้งรีบปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ได้
ระบบการบริหารความรู้
      การบริหารความรู้ จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์เชิงกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ เพื่อให้เรียนรู้การบริหารองค์กรและเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจ เป้าหมายคือ ช่วยให้พนักงานที่มีความรู้ได้สร้างจากระบบและกระจายความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีกลยุทธ์

ลูกโซ่การเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ต
      สามารถช่วยให้บริษัทประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงกลยุทธ์ได้และยังสามารถถูกใช้สำหรับจัดวางตำแหน่งของระบบงานที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานของบริษัทให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วย
ความท้าทายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
      การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ผู้จัดการมองระบบสารสนเทศในแนวใหม่ ระบบสารสนเทศมิใช่เป็นเพียงความจำเป็นทางด้านการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลและเครื่องมือในการตัดสินใจของระบบบริหารอีกด้วย
ความสำเร็จในเชิงกลยุทธ์ที่ยั่งยืน
     1. สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือโครงสร้างของอุตสาหกรรม
     2. ปัจจัยพื้นฐาน ตำแหน่งเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม พันธมิตร สินทรัพย์ ทรัพยากรทางเทคโนโลยีและทรัพยากรความรู้
     3. การทำการบริหารและกลยุทธ์ การพัฒนาและริเริ่มให้เกิดการกระทำและกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนะนำบทที่3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

บทที่2 แนะนำพื้นฐานของระบบสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่5