แบบฝึกหัดท้ายบทที่1



แบบฝึกหัดบทที่1

1. จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายระดับการจัดการ การตัดสินใจ และสารสนเทศว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน    การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ

2. จงบอกความแตกต่างระหว่างสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Manangement Information System : MIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)
ตอบ ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ DSS กับ MIS
ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบDssเป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ความหมายของ “DSS” ระบบสารสนเทศ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Decision Support System หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีเพื่อช่วยแก้ปัญหา หรือนำเสนอทางเลือกให้แก่ผู้บริหาร
ความหมายของ "MIS" ระบบสารสนเทศ
เอ็มไอเอส (MIS = Management Information System) หมายถึง คำที่มักใช้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อ้างอิงถึง เทคโนโลยี กระบวนการ ระบบ และผู้คน ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประมวลผลสารสนเทศ

3. จงบอกความหมายของการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resouree Management: IRM) และยกตัวอย่างการจัดมา1ด้านพร้อมตัวอย่าง
ตอบ ทรัพยากรสารสนเทศ ความหมายโดยทั่วไป คือ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ ความคิด
ประสบการณ์ทีเป็นแก่นหรือเนื้อหาสำคัญทีได้จำแนก ชีแจง แสดงออกมาให้ปรากฏ โดยการกลันกรอง
เรียบเรียงและประมวลไว้โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส และอื่นๆ รวมทังบันทึกลงบนวัสดุหลาย
ชนิด เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรตีพิมพ์/วัสดุตีพิมพ์ (Printed materials) หมายถึงวัสดุทีบันทึกสารสนเทศใน
รูปแบบของตัวอักษร ภาพและสัญลักษณ์อื่น ๆ โดยผ่านกระบวนการตีพิมพ์ เช่น
หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ กกฤตภาค (clipping) เป็นต้น
2. ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์/วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials) หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที
บันทึกไว้ในสื่อทีไม่ได้ผ่านกระบวนการตีพิมพ์ เช่น ต้นฉบับตัวเขียน โสตวัสดุ แถบ
บันทึกเสียง ไมโครฟิล์ม สื่อวัสดุคอมพิวเตอร์ต่างๆ (CD-ROM/DVD)
3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resource) เช่น หมายถึง สารสนเทศทีจัดเก็บไว้ด้วย
ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีชุดคำสัง ระบบจัดการฐานข้อมูล ทำหน้าทีควบคุมการจัดการและ
การใช้ฐานข้อมูลประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามลักษณะการใช้งานแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
ฐานข้อมูลออฟไลน์ และฐานข้อมูลออนไลน์ แบ่งตามเนือหาสารสนเทศทีให้บริการแบ่งได้เป็น ฐานข้อมูลบรรณานุกรม และฐานข้อมูลฉบับเต็ม
ตัวอย่าง
ช่วยจำแนกสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บ เช่น การเก็บข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนะนำบทที่3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

บทที่2 แนะนำพื้นฐานของระบบสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่5